การวิเคราะห์และซ่อมอาการเสียของอะแด็ปเตอร์ (adapter)
หากคุณต้องการแก้ปัญหาที่เกิดกับ adapter notebook ด้วยตัวเองผมหวังว่าการวิเคราะห์อาการเสียต่างๆ ในบทความนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างไม่มาก็น้อยครับ
adapter ของ Notebook ลักษณะการทำงานจะคล้ายๆ ภาคจ่ายไฟของ ทีวี ซีดี ฯลฯ ซึ่งทำหน้าที่ แปลงไฟกระสลับ (AC)220v ความถี่ 50Hz เป็นไฟฟ้าตรง (DC) ที่มีคุณภาพสูง เพื่อจ่ายกระแสไปเลี้ยงส่วนต่างอย่างสม่ำเสมอ (กระแสที่ผ่านการแปลงแล้วจากอะแด็ปเตอร์จะอยู่ระหว่าง 12 ~ 19V)
อะแดปเตอร์โน๊ตบุ๊คค่อยข้างจะเสื่อมประสิทธิภาพได้ง่าย และราคาแพง ผู้ใช้หลายๆ ท่านจึงพยามที่จะซ่อมแซมปัญหาด้วยตนเอง อย่างน้อยบทความนี้อาจทำให้ท่านวิเคราะห์ส่วนต่างใด้ง่ายขึ้น ซึ่งบทความนี้ผมได้นำอะแดปเตอร์ของโน๊ตบุ๊ค IBM รุ่น T23 (กระแส 16V 4.5A)
อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมทั้งหมดในบทความ คือ
- ฆ้อน
- มีด
- หัวแร้ง
- ไขควง
ขั้นตอนแรก
ในบทความนี้เราจะแกะกรอบพลาสติกของตัวอะแดปเตอร์ด้วยมีดและฆ้อน ต้องใช้ความระมัดระวัง อย่าเซาะลงไปลึกว่ากรอบพลาสติกมากเกินไป มันอาจโดนอุปกรณ์ต่างๆ ภายในได้ซึ่งจะแก้ปัญหาได้อยากกว่าเดิมหากมีดและฆ้อนไปทำลายอุปกรณ์ต่างๆ *สังเกตุว่าผมนำอะแดปเตอร์ตั้งทรงด้านข้าง และใช้มีดกับฆ้อนค่อยๆ เซาะตามร่องเบาๆ ให้รอบ จากนั้นจะแกะพลาสครอบได้ง่ายดายมาก
ขั้นตอนที่สอง
ในรูปที่ 2 ท่านจะเห็นว่า หลังจากแกะกรอบพลาสติกออกเรียบร้อยแล้ว ภายในจะมีแผ่นทองแดงห่อตัวอะแดปเตอร์ใว้อีกชั้น เราต้องนำแผ่นทองแดงนี้ออกด้วยหัวแร้ง ดูได้จากรูปที่ 3
ขั้นตอนที่สาม
ก่อนที่จะเห็นแผงวงจรในตัวอะแดปเตอร์ ท่านจะเห็นแผ่นพลาสติกบางอีกชั้นที่ห่อวงจรภายในใว้ เมื่อนำออกจะเห็นอุปกรณ์ต่างบนตัวอะแดปเตอร์ดังรูปที่ 5
ขั้นตอนที่สี่
ขั้นตอนนี้ เราสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน อะแด๊ปเตอร์ และวิเคราะห์โครงสร้างของตัวอะแดปเตอร์ได้ ดังรูปที่ 6 องค์ประกอบ หรือ โครงสร้างต่างๆ จะทำเครื่องหมายวงกลมสีแดง และ จะอธิบายถึงหลักการทำงานคร่าวๆ ดังต่อไปนี้
1 ) วาริสเตอร์ (varistor)
จะทำหน้าเป็นวงจรป้องกันอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ให้ได้รับความเสียหาย เมื่อกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าในวงจรเกิดการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น โดยวาริสเตอร์จะทำหน้าที่แบ่งกระแสไฟฟ้าหรือลดแรงดันไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้ามากเกินปกติ ช่วยลดความเสียหายที่อาจเป็นอัตรายต่อวงจร
2 ) ฟิวส์ (fuse)
ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์นิรภัย จะป้องกันการลัดวงจร เมื่อมีการกระแสเกินในวงจรไฟฟ้า ฟิวส์จะตัดกระแสไฟออกจากวงจรเพื่อป้องการอุปกรณ์เสียหาย (ในวงจร อะแดปเตอร์ฟิวส์จะมีขนาดประมาณ 2.50A/250V)
3.)ขดลวด (inductance)
หน้าที่หลัก คือ จะทำการลดการลบกวนที่เกิดจากแม่เหล็กไฟฟ้า
4.) ภาคเรคติไฟเออร์ (Rectifier)
หลังจากที่ไฟกระแสสลับ 220v ได้วิ่งผ่านฟิวส์ และวงจรกรองแรงดันเรียบร้อยแล้วก็จะตรงมายังภาคเรคติไฟเออร์ โดยหน้าที่ของเจ้าเรคติไฟเออร์ ก็คือ การแปลงไฟกระแสสลับ ให้มาเป็นไฟกระแสตรงซึ่งประกอบไปด้วย
5. ตัวเก็บประจุ (capacitor)
ตัวเก็บประจุ (capacitor) ขนาด 180uF/400V จะทำหน้าที่ กรองกระแสสลับ (AC) ในวงจร (DC)ให้มีความเสถียนมากยิ่งขึ้น
6.) ออปแอมป์ (Op-Amp)
IC (วงจรรวม) ส่วนสำคัญในการป้องกันวงจร Voltage Regulator อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://wara.com/article-813.html
7.) หัววัดอุณหภูมิ
ใช้เพื่อตรวจสอบอุณหภูมิภายในของอะแดปเตอร์ เมื่ออุณหภูมิสูงกว่าค่าที่กำหนดวงจรจะตัดให้เหมาะสม เพื่อป้องกันอะแดปเตอร์ไม่ให้ได้รับความเสียหาย
8.) วงจรสวิตชิ่ง (Switching)
เป็นวงจรที่ใช้ในการทำงานร่วมกับวงจรควบคุม (Contrlo Circuit) เพื่อตรวจสอบว่าควรจะจ่ายแรงดันทั้งหมดให้กับระบบหรือไม่ โดยถ้าวงจรควบคุมส่งสัญญาณมาให้กับวงจรสวิตซิ่งว่าให้ทำงาน ก็จะเริ่มจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ได้จากภาคเรคติไฟเออร์ไปให้กับหม้อแปลงต่อไป
9.) หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer)
หม้อแปลงที่ใช้ในวงจรสวิตชิ่ง จะเป็นหม้อแปลงที่มีหน้าที่ในการแปลงไฟที่ได้จากภาคสวิตชิ่ง ซึ่งก็รับแรงดันไฟมาจากภาคเรติไฟเออร์อีกต่อหนึ่ง โดยแรงดันไฟฟ้ากระแสงตรงที่มีค่าแรงดันสูงขนาดประมาณ 300 v ดังนั้นหม้อแปลงตัวนี้ก็จะทำหน้าที่ในการแปลงแรงดันไฟกระแสตรงสูงนี้ให้มีระดับแรงดันที่ลดต่ำลงมา เพื่อที่จะสามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ก่อนที่จะส่งไปให้วงจรควบคุมแรงดันต่อไป
ตอนที่สอง
ที่มาของบทความ http://www.360doc.com/content/11/0706/18/989162_131880169.shtml#
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น